ประเพณี การละเล่น จังหวัดชลบุรี

Chonburi

 

(ที่มา:http://govcenter.onep.go.th/images/logo/Chonburi)

               ประเพณี วัฒนธรรม การละเล่นมีอิทธิพลที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตของคนในท้องถิ่นเป็นอย่างมาก ซึ่งมันคือสิ่งที่จะเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของคนในชุมชนในพื้นที่สร้างความเป็นมิตรต่อกันและกัน ให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ซึ่งวัฒนธรรม ประเพณี ของชาวชลบุรีที่มีการปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างช้านาน ซึ่งมีความหลากหลายและแตกต่างกันไปในแต่ล่ะพื้นที่อีกด้วย

               คำว่า “วัฒนธรรม” และ “ประเพณี” เป็นคำ ๒ คำที่เราคุ้นเคย คุ้นหูกันมานาน หากมองกันอย่างผิวเผิน ความหมายหรือคำจำกัดความของคำ ๒ คำ หลายคนเข้าใจว่ามีความใกล้เคียงกันหรืออาจเข้าใจไปว่ามีความหมายเหมือนกัน แต่หากขยายความกันอย่างลงลึกแล้ว วัฒนธรรม  กับ ประเพณี มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน

               คำว่า วัฒนธรรม   หมายถึง แบบอย่าง แนวทางปฏิบัติ วิถีดำเนินชีวิตและการอยู่ร่วมกันของคนในชุมชนแต่ละชุมชน ที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์เฉพาะตัวของชุมชนหรือสังคมนั้นๆ ซึ่งเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ ภูมิปัญญาของคนรุ่นก่อน ที่ส่งต่อมาสู่คนรุ่นหลัง  และสะท้อนถึงตัวตนที่ชัดเจน เช่น เอกลักษณ์ประจำชาติของคนไทยที่มีลักษณะเฉพาะตัว ทั้งการใช้ภาษา อุปนิสัยใจคอที่ยิ้มแย้มแจ่มใส กิริยามารยาทที่อ่อนหวาน นุ่มนวล มีน้ำใจช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ซึ่งวัฒนธรรมแต่ละชุมชนก็จะมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับข้อจำกัดทางสภาพแวดล้อม ภูมิศาสตร์และทรัพยากรในท้องถิ่นหรือชุมชนนั้นๆ

               ส่วนคำว่า  ประเพณี คือ แบบแผนของความเชื่อที่ส่งผลต่อการกระทำ ค่านิยม ทัศนคติ ศีลธรรม จารีต ระเบียบแบบแผน ตลอดจนการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ที่เห็นว่าดีงาม ถูกต้อง หรือเป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ในสังคม และมีการปฏิบัติสืบต่อกันมาหรือส่งผลมาถึงทุกวันนี้   หรืออาจจะกล่าวได้ว่าประเพณีคือ สิ่งที่สังคมเดิมสร้างขึ้น แล้วส่งต่อเป็นมรดกให้กับคนรุ่นหลังยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ และปรับปรุงให้ดีขึ้น และเผยแพร่ออกไปสู่สังคมอื่นๆ ด้วย

            นอกจากนี้ประเพณียังแตกแขนง แบ่งตามระดับความเข้มงวดมากไปหาเข้มงวดน้อย ดังนี้ จารีตประเพณีหรือศีลธรรม ขนบประเพณี และธรรมเนียมประเพณี

             ๑. จารีตประเพณี คือค่านิยมที่สังคมมองว่าหากฝ่าฝืน ไม่ทำตาม ถือเป็นความผิด หรือเป็นเรื่องที่ผิดศีลธรรม แต่เนื่องจากจารีตประเพณีของแต่ละสังคมไม่เหมือนกัน การยึดถือจารีตประเพณีของแต่ละสังคมจึงแตกต่างกัน

            ๒. ขนบประเพณี หมายถึง ค่านิยมที่สังคมกำหนดเป็นแบบแผนชัดเจนว่า ควรจะปฏิบัติเป็นขั้นเป็นตอนอย่างไร เช่น พิธีการต่างๆ

            ๓. ธรรมเนียมประเพณี หมายถึงค่านิยมที่ปฏิบัติกันอยู่ในชีวิตประจำวัน ฝ่าฝืนได้ไม่ถือว่าเป็นความผิดร้ายแรง หากแต่เป็นเรื่องเสียมารยาทเท่านั้น

timthumb

(ที่มา : http://www.schoolweb.in.th/timthumb.php?src=/uploads/20150113085405OUG6Ycg/slide/)

               ความหมายการละเล่น คำว่า “การละเล่น” หมายถึง การกระทำหรือกิจกรรมใด ๆ ที่ก่อให้เกิดความสนุกสนานรื่นเริงบันเทิงใจ ซึ่งมักมีกติกาการเล่นหรือการแข่งขันง่าย ๆ ไม่สลับซับซ้อนมากนัก จุดประสงค์ส่วนใหญ่ มุ่งเพื่อให้เกิดความสนุกสนาน เพื่อออกกำลังกาย และก่อให้เกิดความสามัคคีทั้งระหว่างผู้เล่นและผู้ชม กติกาอาจกำหนดขึ้นไว้ก่อนและเคยปฏิบัติมาแล้วหรือ ตกลงกันตั้งขึ้นขณะจะเริ่มเล่นก็ได้ คือ ไม่ค่อยพิถีพิถันในเรื่องกติการมากนัก สรุปการละเล่นพื้นบ้านจึงหมายถึง กิจกรรมที่ประชาชนร่วมกันทำขึ้นเพื่อให้สนุกสนานและอื่น ๆ ในแต่ละท้องถิ่นหรือตำบลหมู่บ้าน บางอย่างอาจเหมือนกันกับท้องถิ่นอื่น และบางอย่างอาจแตกต่างกันไปบ้างตามความนิยมของท้องถิ่นนั้น ๆ การละเล่นต่างกับกีฬา การละเล่นแตกต่างจากกีฬาตรงที่การละเล่น จัดทำเพื่อมุ่งความสนุกสนานเป็นใหญ่ ไม่มุ่งที่จะเอาชนะกันอย่างจริงจัง ทั้งผู้เล่นก็ไม่จำเป็นต้องได้ฝึกซ้อมเตรียมตัวมาก่อนแต่อย่างใด คือ จะเล่นเมื่อไรก็อาจเข้าร่วมกิจกรรมเลยก็ได้ ส่วนกีฬา หมายถึง การละเล่นที่ต้องใช้กำลังพอสมควร การแข่งก็มีกติกาวางไว้แน่นอน และเป็นการกระทำที่ สลับซับซ้อน มีกลวิธีการเล่นและผู้เล่นซึ่งเรียกว่า นักกีฬา ก็ต้องได้รับการฝึกฝนมาก่อนพอสมควร ทั้งมีเทคนิคหรือกลวิธีการเล่นต่าง ๆ มากมาย เพื่อหวังให้ได้ชัยชนะ และการเล่นกีฬา ไม่ว่าจะไปเล่นที่ไหน ก็ต้องเล่นแบบนั้น เหมือนกัน เพราะมีกติกากำหนดไว้เป็นการแน่นอนตายตัวอยู่แล้ว การละเล่นพื้นบ้านจึงแตกต่างไปจากกีฬา ตรงที่เป็นการเล่นแบบง่าย ๆ เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน มากกว่าหวังแพ้ชนะเช่นการเล่นกีฬา

“เราได้รวบรวมทั้งประเพณี และ การละเล่นใน จังหวัด ชลบุรี ไว้ทั้งหมด 18 กิจกรรม “