การละเล่นทายโจ๊ก

 

33

(ที่มารูป http://www.openbase.in.th/node/7956)

การละเล่นทายโจ๊ก

ที่มา

               โจ๊กปริศนามีจุดกำเนิดเกิดขึ้นครั้งแรกที่กรุงเทพมหานครประมาณสมัยรัชกาลที่ ๔ หรือต้นรัชการที่ ๕ในรูปแบบของ โคลงทาย หรือการถามด้วยปริศนาทีขึ้นต้นด้วยคำว่า อะไรเอ่ย … คล้ายกับการเล่น ผะหมี ของจีนจนกระทั่งมาพัฒนาเป็น ปริศนากวี ที่จังหวัดชลบุรีเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๕๘ แต่ชาวบ้านเรียกกันสั้น ๆ ว่า โจ๊ก

 

วิธีการเล่น

               การเล่นทายปริศนาเป็นการเล่นเพื่อทดลองภูมิปัญญาซึ่งกันและกัน เป็นการเล่นที่ให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน ฝึกให้ผู้เล่นรู้จักใช้ความสังเกต ความคิด และเชาวน์ปัญญาในการแก้ปัญหา การเล่นปริศนาของไทยนั้นได้แก่ ปริศนา อะไรเอ่ย ตัวอย่างเช่น

 

อะไรเอ่ย ต้นเท่าครกใบปรกดิน??????????????????????? คำเฉลยคือ ตะไคร้
อะไรเอ่ย ต้นเท่าแขนใบแล่นเสี้ยว ต้นเท่าขาใบวาเดียว???? คำเฉลยคือ อ้อย / กล้วย
อะไรเอ่ย สูงเทียมฟ้า ต่ำกว่าหญ้านิดเดียว?????????????? คำเฉลยคือ ภูเขา
อะไรเอ่ย หีบขาวใส่ผ้าเหลือง คนทั้งเมืองไขไม่ออก?????? คำเฉลยคือ ไข่

 

            การทายโจ๊ก หรือ โจ๊กปริศนา คือปริศนาร้อยกรอง ที่ฝึกสมองประลองปัญญาผู้เล่นทุกคน กล่าวคือ ปริศนาร้อยกรองดังกล่าว จะเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ หรือ กลอนก็ได้ ซึ่งปริศนา 1 ชุด จะมี 4 บรรทัด 4 คำตอบ โดยจะเรียกว่า “4 บาท” โดยทุกคำตอบจะมีความสัมพันธ์กัน อุปกรณ์การเล่นทายโจ๊ก จะประกอบด้วย ฆ้อง กริ่งไฟฟ้า และ กลอง ซึ่ง นายโจ๊ก หรือ ผู้จัดทำ จะเป็นผู้เตรียมไว้อยู่แล้วทุกคำตอบของโจ๊กปริศนา ทั้ง 4 คำตอบ จะมีความสัมพันธ์กัน ปัจจุบัน รูปแบบที่นิยมมีทั้งหมด 10 รูปแบบ ดังนี้

 

                1).  พ้องคำเดี่ยว  เป็นธงโจ๊กที่มีคำเฉลยเป็นคำเดียวพยางค์เดียวเหมือนกันทั้งชุด  (เช่น เกลือ กลัว เกลอ กลอง)

                2). พ้องคำหน้า  เป็นธงโจ๊กที่มีคำเฉลยที่มีพยางค์เท่ากันทั้งชุดตั้งแต่  2  พยางค์ขึ้นไปและคำหน้าเหมือนกันทุกคำตอบ (เช่น น้ำเต้า น้ำใจ น้ำค้าง น้ำยา)

                3). พ้องคำหลัง  เป็นธงโจ๊กที่มีคำเฉลยที่มีพยางค์เท่ากันทั้งชุดตั้งแต่  2  พยางค์ขึ้นไปและคำสุดท้ายเหมือนกันทุกคำตอบ  (เช่น สองใจ หัวใจ จิตใจ รวมใจ)

                4). พ้องคำกลาง  เป็นธงเจ๊กที่มีคำเฉลยที่มีพยางค์เท่ากันตั้งแต่  3  พยางค์ขึ้นไป  และคำกลางเหมือนกันทุกคำตอบ (เช่น แก๊งสามช่า ตราสามดวง ม่วงสามหมอก หอกสามสี)

                5). คำผัน  เป็นธงโจ๊กที่คำเฉลยมีพื้นฐานมาจากคำเดี่ยวเสียงยาว  บังคับด้วยไม้เอกไม้โทไม้ตรีและไม้จัตวา  (เช่น เสือ เสื่อ เสื้อ)

                6). คำผวน  เป็นธงโจ๊กที่มีคำเฉลยที่มีจำนวนพยางค์เท่ากันตั้งแต่  2  คำขึ้นไป โดยเมื่อผวนแล้วจะได้คำตอบที่ถูกต้องในบาทนั้นๆ (เช่น นีรา-นารี นีวา-นาวี นีดา-นาดี นีคา-นาคี)

                7). คำสุภาษิต  พังเพย  เป็นธงโจ๊กที่ไม่จำกัดพยางค์ก็ได้เพราะยึดถือ  คำตอบตามสุภาษิต  พังเพยที่เห็นอยู่ในสังคม (เช่น ปอก กล้วย เข้า ปาก)

                8). คำพันหลักแบบลูกโซ่  เป็นธงโจ๊กที่บังคับจำนวนพยางค์ให้เท่ากันทุกบรรทัด  ตั้งแต่  2  คำหรือ  2  พยางค์ขึ้นไป  เอาคำสุดท้ายของคำตอบแรกมาเป็น คำแรกของคำต่อไปจนครบทุกบรรทัดจะเห็นความเกี่ยวเนื่องกันไปเหมือนลูกโซ่  (เช่น แม่น้ำ น้ำพริก พริกไทย ไทยรัฐ )

                9). คำตัดคำต่อ  เป็นธงโจ๊กที่ต้องแก้ปริศนาหลายชั้นมากที่สุดมีหลักเกณฑ์เดียว  คือต้องมีเหตุผลในการให้คำตอบ  เพียงแต่อ่านปริศนาให้เข้าใจก่อนจะดีปัญหาเป็น  รูปธรรม (เช่น มา มาลา มาลาคำ มาลาคำจันทร์, มา มาร มารยา มารยาท)

               10).โจ๊กภาพ  สามารถเอาแบบทั้ง  9  แบบ  14  อย่างมาเขียนเป็นภาพให้ทายกันได้  ยิ่งเป็นคำผวน  คำผันยิ่งเขียนได้อีกหลายภาพ  ถ้าเป็นการเล่นของเด็กนักเรียน  ก็มีการผสมคำอีกต่างหาก  (เช่น ในรายการเวทีทอง)

 

สถานที่จัดเล่น

อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี


ที่มา http://joke-panus.spatc.net/ประวัติโจ๊กปริศนา/