หมากรุกคน

1399394965

(ที่มาของภาพ : http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=rouenrarai&month=05-2014&date=06&group=12&gblog=32)

หมากรุกคน

               หมากรุกคนผู้เล่นหมากรุกคน 2 คนนั่งประจำกระดานหมากรุก เตรียมเดินตัวหมากรุก ผู้เล่นอีก 32 คน แต่งกายแบบทหารโบราณ แบ่งเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายละ 16 คน เครื่องแต่งกายคนละสี ศีรษะสวมหัวแสดงให้รู้ว่าเป็นขุน โคน ม้า เรือ หรือเบี้ย ขัดตารางบนพื้น เมื่อผู้เล่นเดินหมากรุกตัวใดไปตาไหนจะมีคนพากย์ทางไมโครโฟน ให้หมากรุกคนเดินเหมือนตัวหมากรุก มีคน 1 คน ใช้ไม้ยาว ๆ คอยชี้ว่าให้หมากรุกคนเดินไปตาไหน คนพากย์บอกให้วงปี่พาทย์บรรเลงเพลงให้เหมาะสม กับลีลาและศักดิ์ศรีของหมากรุกตัวนั้น หากหมากรุกตัวใดถูกฝ่ายตรงข้ามกิน คนชี้จะชี้ให้หมากรุกตัวนั้นออกจากการเล่น เล่นกันไปจนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจน

ที่มา

               สำหรับ “หมากรุกคน”เป็นการแสดงที่ ครูสง่า ศศิวณิช ลูกศิษย์ของพระยาสุนทรเทพระบำ(เปลี่ยน สุนทรนัฏ) เป็นผู้คิดขึ้นเพื่อประกอบการแข่งขันกีฬาหมากรุก โดยใช้คนแสดงเป็นตัวหมากมีเพลงบรรเลงและท่ารำประกอบเฉพาะตัว หมากรุกคนนำมาแสดงครั้งแรกในงานปีใหม่ ณ ท้องสนามหลวง อย่างไรก็ตามไม่ได้มีการระบุปีพุทธศักราชที่เริ่มแสดงไว้ “การแข่งขันหมากรุกสมัยโบราณมีคนดูมากไม่สามารถมองเห็นเกมได้ชัดเจน จึงมีการคิดทำตัวหมากรุกเป็นไม้เล่นบนกระดานกว้างๆให้คนไปหยิบแล้วเดินตามตาราง แต่มันไม่ได้อรรถรส โบราณจึงใช้ตัวคนแทนตัวหมาก หมากรุกคนเล่นตามที่กระดานในการแข่งขันเล่นกัน ถ่ายทอดจากระดานเล็กให้ลงกระดานใหญ่”

ลักษณะการเล่น

               ประกอบด้วยขุนหรือตัว แม่ทัพ 1 ตัวโคนเปรียบเสมือนทหารเอกคู่ใจหรือ รองแม่ทัพ 2 ตัว เม็ดเปรียบเสมือนทหาร หน่วยทะลวงฟัน 1 ตัว ยานพาหนะ ม้า 2 ตัว และ เรือ 2 ตัว นอกจากนี้ยังมีเบี้ยซึ่งเปรียบเสมือนพลทหารราบลุยเป็น กองทัพหน้าอีก 8 ตัว ทั้งหมดบนกระดานมีฝ่ายละ 16 ตัว “คนที่แสดงเป็นหมากจะอยู่ในชุดแตกต่างกันตามแต่ละหน้าที่ และเพื่อให้แยกความต่างของทั้ง 2 ฝ่ายบางครั้งจึงมีการสมมุติให้ฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายไทย ส่วนอีกฝ่ายนั้นแล้วแต่จะเลือกประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีลักษณะการแต่งกาย การต่อสู้ เพลงที่ใช้สำเนียงแต่ละชาติแตกต่างง่ายสำหรับผู้ชมสามารถแยกแยะได้อย่างชัดเจน””ม้าถือเป็นตัวสร้างสีสันเรียกเสียงหัวเราะและรอยยิ้มจากคนดูได้ทุกครั้งที่แสดงท่าทาง ส่วนหมากตัวอื่นเป็นเรื่องของท่ารำ ม้าไปกำกับธรรมชาติไม่ได้ ปล่อยไปตามท่าทางตามธรรมชาติ ผู้แสดงต้องระลึกอยู่เสมอว่าขณะอยู่บนตารางสวมวิญญาณความเป็นม้า เพราะฉะนั้นจะแสดงท่าทางอย่างไรก็ได้ให้อยู่ในท่าทางตามธรรมชาติของม้า ไม่ว่าจะร้องเป็นเสียงม้า แสดงท่าทางดีดกะโหลกแบบม้า ท่ารำ และเพลงของม้าที่ใช้แฝงความสนุกอยู่ในตัวของมันเองอยู่แล้ว ส่วนอรรถรสของการแสดงมองไปที่การต่อสู้” ในหมากรุกเวลาจะกินกันนิยมบรรเลงด้วยเพลงเชิด นอกจากนี้ยังนำเอาอาวุธกระบี่กระบองมาใช้ในการต่อสู้ ฝ่ายถูกกินเป็นฝ่ายต้องตาย นิยมใช้เพลงโอดบรรเลงช่วงที่ตัวหมากตาย

สถานที่เล่น

              ที่ลานวัดหรือลานบ้าน ตำบลบ้านโขด อำเภอเมืองชลบุรี

เวลาที่เล่น

               นิยมเล่นระหว่างสงกรานต์ หรือในงานมงคลต่าง ๆ